นิยามคลังสินค้า เป็นการบริหารพื้นที่ให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุดและดูแลวัสดุในคลังให้อยู่ในสภาพพร้อมใช้.
วัตถุประสงค์คลังสินค้า
เพื่อให้กิจกรรมของฝ่ายซ่อมบำรุงไม่ได้รับผลกระทำอันเนื่องมากจากความไม่แน่นอนของอุปส่งและอุปทาน.
ความรับผิดชอบคลังสินค้า
1. ดูแลคลังสินค้า ครอบคลุมถึงโครงสร้างทั้งหมดของคลังสินค้าไม่ว่าจะเป็น แสงสว่างภายใน สภาพแวดล้อม ความปลอดภัย มลภาวะ อุปกรณ์และเครื่องมือที่ใช้ในการดำเนินงาน.
2.ดูแลวัสดุ การดูแลรักษาวัสดุคงคลังให้อยู่ในสภาพพร้อมใช้ ซึ่งถือเป็นหัวใจสำคัญของการจัดเก็บ เพราะหากฝ่ายซ่อมบำรุงนำวัสดุไปใช้แล้วปรากฏว่าใช้ไม่ได้จะทำให้มีค่าใช้จ่ายที่เพิ่มขึ้นโดยไม่จำเป็น ซึ่งปัญหาหลักๆที่ทำให้วัสดุเสียหายมีดังต่อไปนี้
2.1 ความชื้น ความชื้นนั้นจะมีผลกระทบกับพวกอุปกรณ์อิเล็กทรอนิค โดยเฉพาะ PCB Print Cercuit Board ซึ่งจะทำให้วงจรเกิดการเสียหายได้.
2.2 การสึกกร่อน Corrosive เนื่องจากวัสดุซ่อมบำรุงนั้นจะมีวัสดุที่เป็นเหล็กจำนวนมาก จึงเกิดสนิมได้ง่ายหากขาดการดูแลรักษาที่ดี.
2.3 การเสียรูป นั้นเกิดจาการจัดเก็บที่ไม่เหมาะสมมีการซ้อนทับกันของวัสดุร่วมถึงการเคลื่อนย้ายที่ไม่ถูกต้อง ขาดความระมัดระหวัง.
2.4 การขีดข่วน หรือฉีกขาด เกิดจากการเก็บวัสดุรวมกันลงใน Part Bin เดียวกัน ร่วมถึงการเคลื่อนย้ายที่ไม่ถูกต้อง ขาดความระมัดระวัง.
2.5 วัสดุหมดอายุ โดยมากมักเกิดกับวัสดุที่เป็นเคมีหรือมีส่วนผสมของเคมี
ข้อสังเกต ทั้งหมดเป็นเพียงวัสดุที่สามารถเห็นได้ด้วยสายตาแต่จะมีวัสดุอีกจำนวนหนึ่งที่มองไม่เห็นจากภายนอก โดยมากคุณสมบัติของวัสดุประเภทนี้จะเสือมลง ให้ศึกษาจากคู่มือการจัดเก็บของวัสดุนั้นๆหากมีการจัดเก็บที่เหมาะสมก็สามารถยืดอายุให้นานขึ้น สามารถสังเกตุจากการเบิกวัสดุชิ้นนั้นมีความถี่สูงมากและนำไปเปลี่ยนในเครื่องจักรเดียวกัน จากประสบการณ์โดยมากจะเป็น Bearing Oring Belt ที่มีการเคลื่อนไหวช้า.
3 ป้องกันการสูญหายวัสดุ คลังสินค้านั้นมีทรัพย์สินที่มีมูลค่าเป็นจำนวนมาก อะไหล่บางรายการมีขนาดเล็กง่ายในการสูญหาย จึงจำเป็นต้องป้องกันด้วยการติดตั้งกล้องวงจรปิด ควบคุมการเข้าออก.
ข้อสังเกต โดยทั่วไปแล้วไม่อนุญาติให้บุคคลภายนอกเข้าภายในคลังสินค้าแต่อลุ่มอล่วยให้ได้สามกรณีทั้งนี้ต้องได้รับอนุญาตจากเจ้าหน้าที่คลังสินค้าที่มีอำนาจและต้องให้เจ้าหน้าที่จัดพนักงานของคลังสินค้าดูอย่างใกล้ชิด
1.กรณีที่พนักงานคลังสินค้ามีคนไม่เพียงพอต่อการดำเนินกิจกรรมภายใน.
2.การซ่อมบำรุงอาคารที่ไม่ใช้พนักงานคลังสินค้า.
3.ฝ่ายซ่อมบำรุงต้องการดูอะไหล่แต่เนื่องจากวัสดุมีขนาดใหญ่ยากแก่การขนย้าย.
4.การจัดเก็บ
การจัดเก็บวัสดุในคลังสินค้านั้นเป็นเรื่องที่สำคัญมากและหากจัดเก็บไม่ดีอาจส่งผลกระทบกับกิจกรรมฝ่ายซ่อมบำรุง ความปลอดภัย ความเร็วในการบริการ ตรวจนับสินค้าคงคลัง
การเก็บนั้นให้แบ่งประเภทดังนี้
4.1 น้ำหนัก
วัสดุที่มีน้ำหนักมากให้จัดวางบนพื้นไม่ควรไว้บนที่สูงเพราะยากแก่การเคลื่อนย้าย และอาจไม่ปลอดภัย.
4.2 ขนาด
ให้จัดแบ่งขนาดของวัสดุเพื่อให้ง่ายในการจัดเก็บและเป็นระเบียบ.
4.3 ความถี่
วัสดุที่มีความถีในการเบิกใช้มากให้นำมาว่างไว้ใกล้ๆ เพื่อสะดวกในการเบิกจ่าย จัดเก็บ.
4.4 ราคา
วัสดุที่มีราคาแพงควรทำให้ยากในการเข้าถึง ซึ่งมีหลายวิธีคือ มีตู้หรือห้องสำหรับจัดเก็บวัสดุประเภทนี้โดยเฉพาะ หรือวางไว้ที่สูงต้องใช้รถยกเท่านั้นจึงจะใช้ได้
5.5 ชนิดของอะไหล่
อะไหล่ชนิดเดียวกันส่วนใหญ่มีความใกล้เคียงกันในเรื่องขนาด ราคา น้ำหนัก เช่น Oring Bearing เป็นต้น
ข้อสังเกต ในการจัดวางนั้นขั้นแรกให้พิจารณาถึงความต้องการพิเศษเช่นการเก็บภายใต้อุณหภูมิ แสงสว่าง เป็นต้น หลังจากนั้นให้พิจารณาเรื่อง ชนิดอะไหล่ น้ำหนัก ความถี่ ขนาด.
5.ความถูกต้องแม่นยำของข้อมูล
ความถูกต้องแม่นยำของข้อมูลเป็นหนึ่งในความสำคัญของคลังสินค้า ซึ่งข้อมูลเหล่านี้จะช่วยในการวิเคราะห์ปริมาณการจัดเก็บ การซ่อมบำรุง การต่อรองขอฝ่ายจัดซื้อ และอื่นอีกมากๆ
1.จำนวนของวัสดุในระบบกับจำนวนจริงต้องตรงกัน และ
2.ข้อมูลการเคลื่อนใหวของวัสดุทั้งการรับวัสดุเข้าคลังสินค้า การจัดเก็บ และการย้ายการจัดเก็บ และการเบิกจ่ายต้องสอดคล้องกับความเป็นจริงและต้องทำทันที่ที่มีการเคลื่อนใหว.
ทั้งหมดเป็นความรับผิดชอบหลักของคลังสินค้าที่เป็นเพียงหลักการ ในส่วนของการปฏิบัติให้เป็นจริงนั้นให้หาอ่านได้จากบทต่างๆ
Copyright © 2014 All rights reserved.
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น