การจัดแบ่งประเถทของวัสดุในคลังวัสดุนั้นมีความจำเป็นมากเพราะเป็นส่วนหนึ่งของการวิเคราะห์การจัดแบ่งประเถทวัสดุจะจัดแบ่งตามระบบบัญชีและความสำคัญกับการผลิตร่วมถึงการว่างแผนการซ่อมบำรุงและการติดตั้งเครื่องจักร.
1.อะไหล่เตรียมพร้อมสำหรับการซ่อมบำรุง
1.1 อะไหล่เตรียมพร้อมสำหรับงาน ซ่อมบำรุงในแต่ละวัน งาน Corrective Action ซึงโดยส่วนใหญ่แล้วเป็นอะไหล่ที่มีความเคลื่อนไหวช้า.
1.2.อะไหล่ประกันเตรียมพร้อม(insurance item) เป็นอะไหล่ที่แทบจะไม่มีการเบิกใช้เลยแต่จำเป็นต้องมีเนื่องจากมีความสำคัญมาก ใน VED Analysis นั้นจะอยู่ในกลุ่ม V(Vital) นั้นเอง ซึ่งอะใหล่ในกลุ่มนี้จะต้องทำแผนการตรวจสอบเพื่อให้มั้นใจว่าอยู่ในสภาพพร้อมใช้งาน.
อะไหล่ในหัวข้อนี้ บริหารจัดการโดยคลังวัสดุทั้งการสั่งซื้อจัดเก็บเบิกจ่ายและการตรวจนับประจำปี ร่วมถึงการดูแลรักษาให้อยู่ในสภาพพร้อมใช้.
2.อะไหล่ที่สามารถวางแผ่นได้ล่วงหน้า เช่น
2.1 Project Material คือ อุปกรณ์หรือวัสดุที่ต้องการจัดเก็บเป็นพิเศษสำหรับงาน Project ใหญ่
ซึ่งลักษณะความต้องการวัสดุของงานประเภทนี้เป็นลักษณะของการใช้งานเพียงครั้งเดียว .
2.2 Minor Project and Planned Maintenance วัสดุและอะไหล่ทั่วไปสำหรับงานซ่อมบำรุงใหญ่ หรือการว่างแผนการซ่อมบำรุงที่มีการใช้วัสดุและอะไหล่จำนวนมาก.
อะไหล่ประเภทนี้ทางคลังวัสดุจะทราบถึงความต้องการล่วงหน้าดังนั้นจะไม่มีการสั่งมาเก็บไว้ในครั้งโดยปกติแต่จะสั่งเป็นครั้งๆไปตามแผนการผลิต ในแง่ของการส่งมอบสิ้นค้าจะให้ Vendor หรือ Supplier ส่งก่อนล่วงหน้า 1 อาทิตย์ตามแผนการผลิตหรืออาจมากว่านี้ขึ้นอยู่กับความเหมาะสม.
3.Direct Charge Materials
ในแง่ของความเป็นจริงทางคลังวัสดุนั้นไม่สามารถเก็บวัสดุทุกชิ้นได้ที่มีการใช้อยู่ในโรงงานได้หากดูจากตาราง STOCK CRITERIA MATRIX จะเห็นว่ามีอะไหล่ที่ไม่จำเป็นต้องเก็บไว้ในคลังวัสดุตามเหตุผลตามตาราง ดังนั้นจึงต้องใช้วิธีการซื้อแบบ Direct Charge เป็นครั้งๆไปตามความต้องการของฝ่ายซ่อมบำรุง ทางบัญชีจะมีมูลค่าเป็น 0 ซึ่งจะต่างกับ อะไหล่เตรียมพร้อมสำหรับการซ่อมบำรุง ในข้อ 1 ที่ยังมีมูลค่าทางบัญชีอยู่.
4.Surplus คือวัสดุหรืออะไหล่ที่เหลือจาก Project Material และอะไหล่ที่ไม่มีการจ่ายออกเป็นเวลามากว่า 4 ปีหรือตามนโยบายบริษัท(Dead Stock) ร่วมถึงอะไหล่ที่ไม่สามารถใช้งานได้เช่นหมดอายุ.
Copyright © 2014 All rights reserved.
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น